ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ รามคำแหง

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Microsoft Excel Tips and Tricks: เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่น SUM


  1. มี Short cut เมนูมาให้สามารถคลิกเลือกเพื่อ Sum ข้อมูลได้ ถ้าจะเลือกอย่างอื่นต้องคลิกSum Dropdown เพื่อเลือกอีกครั้ง

  2. เมื่อกด Alt+= ก็จะขึ้นฟังก์ชั่น Sum มาให้เลย

  3. ถ้าเราเลือกเซลล์ว่างใต้กลุ่มข้อมูลที่เป็นตัวเลขแล้วคลิกเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 จะเป็นการ Sum ตัวเลขด้านบนมาให้

  4. ถ้าเราเลือกเซลล์ว่างด้านขวากลุ่มข้อมูลที่เป็นตัวเลขแล้วแล้วคลิกเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 จะเป็นการ Sum ตัวเลขด้านซ้ายมาให้

  5. ถ้าคลุมกล่มข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลขโปรแกรมจะ Sum ค่าทั้งหมดมาแสดงให้ที่บรรทัด Status bar (ด้านขวาล่างของจอ) ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น ตรงนี้สามารถเลือกเป็น Count, Average, Min, Max, Count Nums

  6. ถ้าเราคลุมกลุ่มตัวเลขโดยคลุมให้เลยไปทางด้านขวาและด้านล่างจากนั้นกดเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 โปรแกรมจะทำการ Sum ข้อมูลมาให้ โดยแสดงผลในเซลล์ด้านล่างและเซลล์ด้านขวาแถวและบรรทัดสุดท้ายที่คลุม

  7. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ร่วมกับ Sumif หรือ Countif กรณีต้องการรวมหรือนับแบบหลายเงือนไขได้ เช่น

    =Sum(Sumif(A1:A100,{"<0",">0"}))

    โดยไม่ต้องกดแป้น Ctrl+Shift+Enter โดยความหมายสูตรคือให้รวมว่า A1:A100 มีค่าเท่าไร สูตรนี้พิเศษตรงที่สามารถรวมได้แม้ช่วงข้อมูล A1:A100 จะมีค่าผิดพลาดปรากฏอยู่ด้วย เข่น #N/A, DIV/0!

  8. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ในสูตร Array เพื่อนับข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขได้ เช่น

    =Sum(If(A1:A100="Yes",If(B1:B100="OK",1)))

    กดแป้น Ctrl+Shift+Enter เนื่องจากเป็นสูตร Array

    ความหมายสูตรคือ ถ้าเซลล์ใดในช่วง A1:A100 มีค่าเท่ากับ Yes และเซลล์ใดในช่วง B1:B100 มีค่าเท่ากับ OK ให้นับเป็น 1 นั่นหมายความว่าต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกันด้วย เช่น A10 มีค่าเป็น Yes และ B10 มีค่าเป็น OK ถึงจะนับเป็น 1 ถ้าไม่เช่นนั้นก็มีค่าเป็น False คือไม่เข้าเงื่อนไข จากนั้นรวมค่าที่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด

  9. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ในสูตร Array เพื่อ Sum ข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขได้ เช่น

    =Sum(If(A1:A100="Yes",If(B1:B100="OK",C1:C100)))

    กดแป้น Ctrl+Shift+Enter เนื่องจากเป็นสูตร Array

    ความหมายสูตรคือ ถ้าเซลล์ใดในช่วง A1:A100 มีค่าเท่ากับ Yes และเซลล์ใดในช่วง B1:B100 มีค่าเท่ากับ OK ให้นำข้อมูลในคอลัมน์ C ที่อยู่ในบรรทัดเดียวกันนั้นมาแสดง นั่นหมายความว่าต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกันด้วย เช่น A10 มีค่าเป็น Yes และ B10 มีค่าเป็น OK ถึงจะนำค่า C10 มาแสดง ถ้าไม่เช่นนั้นก็มีค่าเป็น False คือไม่เข้าเงื่อนไข จากนั้นทำการรวมข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด

  10. ฟังก์ชั่น Sum สามารถมีได้ 30 ส่วนประกอบซึ่งแต่ละส่วนประกอบเป็นเซลล์เดี่ยวก็ได้ เป็นช่วงเซลล์ก็ได้ เช่น

    =Sum(A1:A5,2,B10,Max(C1:C200))

  11. ฟังก์ชั่น Sum สามารถแปลงค่าตัวเลขที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดให้เป็นตัวเลขได้ เช่น

    =Sum("10",15)

    ผลรวมจะได้เท่ากับ 25

  12. ฟังก์ชั่น Sum สามารถรวมค่าตรรกะได้ ได้แก่ True จะให้ผลเป็น 1 และ False จะให้ผลเป็น 0 เช่น

    =Sum(True,False,4,A1>3)

    ผลลัพธ์จะได้ 6 ถ้า A1 มากกว่า 3 หรือ ผลลัพธ์จะได้ 5 ถ้า A1 ไม่มากกว่า 3

  13. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้แบบ 3 มิติได้ คือสามารถรวม Sheet หลาย ๆ Sheet ได้ เช่น

    =Sum(Sheet1:Sheet5!A1:A10)

    ความหมายคือเป็นการรวมค่าในช่วงเซลล์ A1:A10 ของ Sheet1 ถึง Sheet 5


สรุป ฟังก์ชั่น Sum สามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบหลายสถานการณ์แล้วแต่เงื่อนไขของการทำงาน ซึ่งที่ยกมาข้างต้นคิดว่าจะทำให้รู้จักฟังก์ชั่น Sum เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ตามต้องการครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น