คุณคงอยากรู้ว่า EasyRecovery กู้ไฟล์ในกรณีไหนได้บ้าง? ผมจะแจกแจงให้เห็นเป็นข้อๆ อาทิ
# กู้ไฟล์ที่ถูกลบจากโหมดดอส ตรงจุดนี้ตัววินโดวส์เองไม่ได้คอยตามมาเอาไฟล์ที่ถูกลบไปใส่ไว้ใน Recycle Bin ให้คุณ
# กู้ ไฟล์ที่ถูกลบออกอย่างถาวรจาก Recycle Bin เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อลบไฟล์ในวินโดวส์ ไฟล์นั้นจะถูกย้ายมาประจำการอยู่ที่ Recycle Bin เพื่อรอการเปลี่ยนใจ แต่ถ้าคุณตามมาลบใน Recycle Bin ให้สิ้นซาก หรือสั่งใน Recycle Bin เคลียร์ตัวเองแบบอัตโนมัติ
# กู้ไฟล์ที่ถูกลบจากแผ่นดิสก์ เพราะตัววินโดวส์ไม่มีความสามารถในการย้ายไฟล์ที่ถูกลบจากแผ่นดิสก์มาใส่ไว้ ใน Recycle Bin รอให้คุณได้เปลี่ยนใจ
# กู้ไฟล์ที่มีปัญหา จากโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Word , Excel , Access , PowerPoint รวมถึงไฟล์บีบขนาดต่างๆ เช่น .ZIP ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ อย่างเช่น ไฟล์เอกสาร Word ที่มีปัญหาบ่อยมากที่สุด ถูกเรียกขึ้นมาทำงานไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีส่วนเสียเพียงเล็กน้อย เราจะมาลองแก้ปัญหานี้ด้วยกัน โดยใช้ EasyRecovery อาจจะทำให้คุณเสียเวลาเพียงเล็กน้อยโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารใหม่ทั้งหมด
แต่ สำหรับไฟล์ .ZIP นั้น ก่อนอื่นคุณจะต้องแน่ใจก่อนว่า ไฟล์ .ZIP ที่จะทำการกู้คืนนั้น จะต้องเป็นไฟล์ .ZIP ที่เคยสมบูรณ์ แต่เสียไปบ้างส่วน ไม่ใช่เป็นไฟล์ .ZIP ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตแบบไม่สมบูรณ์ แน่นอนไฟล์นั้นย่อมมีปัญหามาอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเปิดได้แน่ อีหรอบนี้ EasyRecovery ก็คงแก้ไขให้ไม่ได้
เตรียมตัวอย่างไรเมื่อไฟล์หาย
ก่อน จะไปรู้จักกับวิธีการกู้ไฟล์ คุณควรจะเข้าใจสถานการณ์บางอย่างเสียก่อน เพื่อเป็นการรับประกันว่าการกู้คืนว่าจะได้ผล 100% หรือลดน้อยลงไป
# สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่คุณจะต้องท่องให้ขึ้นใจไว้เลยก็คือ ห้ามเซฟไฟล์ใดๆ ลงบนฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ที่ต้องการกู้ไฟล์ทันที!!!
# หลัง จากที่ไฟล์ที่หาย ไม่ว่าจะเป็นการลบทิ้ง หรือฟอร์แมต เพราะอะไรหรือครับ? เหตุผลก็มีอยู่ว่า เมื่อคุณสั่งลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์นั้นทิ้งไป หลายคนจะเข้าใจว่า ถูกลบทิ้งไปจริงๆ แต่ความจริงก็คือ ตัวโอเอสจะเป็นเพียงแค่มาร์กไว้เฉยๆ ว่า มีพื้นที่ตรงนี้ตรงโน้นว่าง (ที่เกิดจากไฟล์ที่ถูกลบทิ้ง) ถ้าเป็นแบบนี้เมื่อไม่มีการเขียนไฟล์ใหม่อะไรลงไปทับ โอกาสที่จะกู้ไฟล์คืนกลับมาก็พูดได้ว่า 100%
แต่ถ้าคุณเกิดไปเซฟ ไฟล์ใหม่ลงไป ทีนี้โอกาสในการกู้ไฟล์ก็มีเปอร์เซ็นต์ลดน้อยถอยลงไป เพราะเราไม่สามารถรับประกันได้ว่า ตำแหน่งที่ถูกมาร์กไว้ว่าว่างในตอนแรก จะถูกแทนด้วยไฟล์ใหม่นั้นหรือไม่ เพราะการจัดเก็บไฟล์ด้วยโอเอสลงบนตำแหน่งต่างๆ ของฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นดิสก์จะเป็นแบบสุ่มลง ตรงไหนว่างก็เก็บไฟล์ไว้ตรงนั้นเลย
เรียกใช้งาน EasyRecovery ได้อย่างไร
ก่อน กู้ไฟล์โดยการเรียกใช้จากโปรแกรม EasyRecovery ได้นั้น คุณจะต้องเข้าใจสถานการณ์ของคุณเสียก่อนว่า จะเรียกใช้ EasyRecovery ได้จากตรงไหน เพราะการเรียกใช้โปรแกรมสามารถทำได้จาก 2 ทางคือ
จาก การติดตั้งโปรแกรมลงบนวินโดวส์ ตรงนี้จะเป็นการใช้งานแบบเต็มรูปแบบ คือไม่ใช่มีแค่การกู้ไฟล์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการซ่อมแซมไฟล์ที่มีปัญหา อย่าง Word , Excel และรวมถึงความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติฮาร์ดดิสก์อีกด้วย
จาก แผ่นดิสก์บูตฉุกเฉินที่โปรแกรม EasyRecovery จะมีความสามารถเพียงแค่ใช้สำหรับกู้ไฟล์เท่านั้น ลองมาดูกรณีตัวอย่าง ว่าจะต้องเรียกใช้ EasyRecovery กันอย่างไร
ถ้าฮาร์ดดิสก์ที่คุณ ต้องการกู้ข้อมูล มีการแบ่งออกเป็นหลายพาร์ทิชัน เช่น แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทิชัน C: เอาไว้เก็บระบบ และโปรแกรมใช้งานต่างๆ ส่วน D: เอาไว้เก็บข้อมูล ทีนี้ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการกู้ไฟล์จากไดรฟ์ D คุณก็สามารถที่จะนำเอา EasyRecovery มาติดตั้งลงในเครื่องไว้ที่ไดรฟ์ C แล้วเรียกโปรแกรมเพื่อมากู้ไฟล์จากไดรฟ์ D ได้ เพราะไม่มีการเขียนไฟล์ขณะโปรแกรมติดตั้งไปทับไฟล์ที่ต้องการกู้จากไดรฟ์ D
แต่ถ้ากรณีที่ฮาร์ดดิสก์ของคุณมีการแบ่งเป็นพาร์ทิชันเดียว คือมีแค่ไดรฟ์ C กรณีมีเหตุการณ์เกิดขึ้น คุณจะไม่สามารถนำเอาโปรแกรม EasyRecovery มาติดตั้งลงในวินโดวส์ เพื่อจะได้เรียกโปรแกรมขึ้นมากู้ไฟล์ เพราะขณะติดตั้งโปรแกรม อาจจะมีการเขียนไฟล์ของโปรแกรมไปทับกับตำแหน่งไฟล์ที่ต้องการกู้คืน ดังนั้น การเรียกใช้ EasyRecovery จะต้องเรียกใช้จากแผ่นบูตฉุกเฉินที่เราสร้างจากโปรแกรม EasyRecovery
กรณี ที่ไฟล์สำคัญของวินโดวส์หายไป ทำให้ไม่สามารถบูตได้ ตรงนี้เรื่องใหญ่ครับ คุณจะต้องเรียกใช้จากแผ่นบูตฉุกเฉินของ EasyRecovery แต่เพียงอย่างเดียว เพราะยังไงก็ไม่สามารถเข้าสู่การทำงานของวินโดวส์ได้ แล้วจะไปติดตั้งโปรแกรมได้อย่างไรกันล่ะครับ เอาเป็นว่า ถ้าจะให้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่เครื่องของคุณปรกติดีอยู่ ก็ให้ติดตั้ง EasyRecovery ลงในเครื่องให้เรียบร้อยเพื่อพร้อมใช้งาน และก็สำคัญที่สุด!! สร้างแผ่นบูตฉุกเฉินของ EasyRecovery ขึ้นมาด้วย
สำหรับการใช้งานคำสั่งของ EasyRecovery ที่ติดตั้งในเครื่อง หรือเรียกใช้จากแแผ่นบูตฉุกเฉินนั้น ก็คคล้ายๆ กันนั่นแหละครับ
สร้างแผ่นบูตฉุกเฉินได้จากตรงไหน
เห็นพูดถึงการเรียกใช้งาน EasyRecovery จากแผ่นบูตฉุกเฉินบ่อยมาก หลายคนอาจจะสงสัยว่า แผ่นดิสก์บูตฉุกเฉินที่ว่านี่ จะเอามาจากไหน
# ใน ขณะติดตั้งโปรแกรม EasyRecovery จะมีขั้นตอนหนึ่งถามว่าต้องการสร้างแผ่น หรือไม่ ก็สามารถสร้างได้ โดยการนำแผ่นดิสก์เปล่า 1 แผ่นที่เตรียมไว้ใส่เข้าไปในไดรฟ์ A
หรือจากคำสั่ง Emergency Diskette (ดังรูปที่ 1)
วิธีใช้งาน EasyRecovery แบบเต็มรูปแบบ
ย่าง ที่บอกไว้แต่ต้นว่า ถ้าคุณติดตั้งโปรแกรม EasyRecovery ลงในเครื่อง โดยใน EasyRecovery เวอร์ชัน 6 ได้นำเอาโปรแกรมซ่อมแซมไฟล์ต่างๆ มารวมอยู่ด้วย โดยก่อนหน้านี้โปรแกรมเหล่านี้จะถูกจับแยกขายออกต่างหาก
หมวดแรก Disk Diagnostics
ใน หมวดนี้ เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการตรวจสอบหาความผิดปกติของสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านกายภาพของตัวสื่อเก็บข้อมูลจริงๆ กับทางด้านโครงสร้างการจัดเก็บของระบบไฟล์ของสื่อเก็บข้อมูล ถ้าคุณเข้าไปดูในโหมดนี้ จะเห็นว่ามีตัวเลือกให้เลือก 6 หัวข้อเลยทีเดียวครับ (ดังรูปที่ 2)
# Drive Test ใช้สำหรับตรวจสอบหาความผิดปกติของสื่อเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ในระดับกายภาพโดยการทดลองการอ่าน-เขียนระดับเซกเตอร์ (เป็นหน่วยย่อยของการโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล) เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น ว่ามีตำแหน่งของเซ็กเตอร์ไหนบ้าง ที่จะไม่สามารถใช้การได้ เมื่อคุณเลือกรายการนี้แล้ว ให้เลือกการตรวจสอบแบบ Full Diagnostics แต่ก็จะต้องแลกกับการใช้เวลาในการตรวจสอบ
SmartTests เป็นการตรวจสอบหาความผิดปกติในเรื่องของเทคโนโลยี SMART ที่เป็นเทคโนโลยีของทางฮาร์ดดิสก์ค่าย Seagate เป็นเทคโนโลยีที่ตรวจสอบความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความเสียหายเกิดขึ้น
# Size Manager เป็นการขอดูรายละเอียดว่าในฮาร์ดดิสก์ของเรา มีโฟลเดอร์ไหนบ้าง ไฟล์ไหนที่ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บกันอย่างละเท่าไหร่
# JumperViewer เหมือนเป็นคู่มือเพื่อดูวิธีการเซตจัมเปอร์ของฮาร์ดดิสก์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ว่ามีการกำหนดตรงไหน โดยเมื่อเลือกหัวข้อนี้แล้ว จะมีการต่ออินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูล แต่อาจจะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ เพราะฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆ จะมีฉลากการเซตจัมเปอร์ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ไว้อยู่แล้วครับ
Partition Tests เป็นการขอตรวจสอบทางด้านโครงสร้างของระบบไฟล์ ว่ามีส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ เพราะความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ นอกจากปัญหาความผิดปกติทางกายภาพที่ใช้หัวข้อ DriveTest ตรวจสอบ แต่หากมีปัญหาเรื่องโครงสร้างระบบไฟล์ ก็จะต้องใช้หัวข้อนี้ตรวจสอบกันครับ
DataAdvison เป็นการขอสร้างแผ่นดิสก์บูตที่มีเครื่องมือการตรวจสอบความผิดปกติทั้งใน ระดับกายภาพ และโครงสร้างระบบไฟล์ในรูปแบบของแผ่นดิสก์แทน เผื่อใช้ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ของเราอ่านจะไม่สามารถทำงานได้ แน่นอนครับว่า คุณคงไม่สามารถเข้าสู่วินโดวส์ได้ ก็ใช้แผ่นดิสก์ DataAdvison ทำงานแทนได้
หมวดสอง Data Recovery
หมวด นี้ น่าจะเป็นหมวดที่ได้รับความสนใจ และถูกเรียกใช้บริการมากที่สุด เพราะใช้สำหรับการกู้ไฟล์ที่เกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น (ดังรูปที่ 3)
# จากปัญหาดังกล่าว เราสามารถเข้ามาใช้คำสั่งในการกู้ไฟล์กลับในโหมดนี้กันครับ Format Recovery ชื่อคำสั่งก็ตรงๆ ไม่ต้องแปลกันอีก คำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบและค้นหาโครงสร้างของระบบไฟล์ต่างๆ จากไดรฟ์ที่ถูกสั่งฟอร์แมตไปแล้ว เพื่อให้เราสามารถกู้กลับคืนมาได้
DeletedRecovery น่าจะเป็นหัวข้อที่ถูกเรียกใช้บ่อยที่สุด เพราะปัญหาการลบไฟล์ผิดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย และเกิดขึ้นได้ง่าย การค้นหาไฟล์ที่ถูกลบรองรับได้ทั้งฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ แผ่น CD-RW เหล่านี้จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะโดยปกตินิสัยของ Windows ถ้าคุณสั่งลบไฟล์จากสื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ จะไม่มีการนำไฟล์ที่ถูกลบไปทิ้งไว้ใน Recycle Bin เพื่อให้โอกาสเปลี่ยนใจยกเลิกการลบได้
ResumeRecovery ในเวอร์ชันนี้ มีจุดเด่นอีกจุดหนึ่งก็คือ การสั่งเซฟผลการค้นหาโครงสร้างไฟล์ต่างๆ ที่ต้องการกู้คืน จะใช้ตอนไหนเหรอครับ ก็จะใช้ตอนที่เราสั่งกู้ไฟล์ โดยขั้นตอนแรกๆ จะเสียเวลาตอนที่โปรแกรมค้นหาโครงสร้างไฟล์ และไฟล์ที่หายไป ใช้เวลาหลายนาทีเหมือนกันครับ แต่ถ้าเรากำลังกู้คืนไฟล์ได้ยังไม่ครบ มีเหตุจำเป็นต้องหยุดการทำงานไปก่อน เราสามารถสั่งเซฟผลการค้นหานั้นๆ เอาไว้ได้ เมื่อจะกลับมากู้ที่หลังก็เรียกไฟล์ที่เก็บรายละเอียดนั้นๆ ออกมา ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาสั่งให้โปรแกรมค้นหากันอีกรอบหนึ่ง โดยใช้คำสั่ง ResumeRecovery
# EmergencyDiskette เป็นการนำคำสั่งเพื่อใช้การกู้คืนไฟล์ต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการลบ หรือจากการฟอร์แมต เพื่อใส่ในแผ่นดิสก์ เผื่อใช้ในกรณีที่วินโดวส์ของคุณทำงานไม่ได้ เช่น หากมีใครไปลบไฟล์บูตของวินโดวส์เพียงไฟล์เดียว วินโดวส์ก็ตายแล้วครับ โดยความเห็นของผม คุณควรจะสร้างแผ่น Emergency เอาไว้ เมื่อถึงคราวคับขันคุณจะเห็นประโยชน์จากมันครับ
หมวด FileRepair
หมวด นี้เอาใจสาวกผู้ใช้ไมโครซอฟท์ออฟฟิศกัน (ดังรูปที่ 4) ทำไงได้ละครับ เพราะมันเป็นของคู่กันที่เราต้องใช้คู่กับวินโดวส์ ปัญหาของไฟล์ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ มีให้ได้เห็นกันในทุกๆ ตัว แต่ที่หนักหน่อยก็จะเป็นของ Word ที่เจอกันบ่อยเหลือเกินกับการเปิดไฟล์ไม่ได้ หรือเปิดได้ แล้วเครื่องแฮงก์ไปเลย ปัญหาที่ว่าเกิดจากในไฟล์ Word ไฟล์นั้นมีโครงสร้างการจัดเก็บที่ผิดเพี้ยนไป
วิธีการแก้ไขในกรณี ที่ไม่สามารถเปิดไฟล์จากไมโครซอฟท์ออฟฟิศทั้ง Word, Excel, PowerPoint, Access หรือไฟล์ .ZIP ก็เพียงแต่คลิ้กเลือกตามประเภทที่ไฟล์ที่ต้องการให้โปรแกรมแก้ไข จากนั้นก็เลือกไฟล์ที่ต้องการแก้ไขขึ้นมา โปรแกรมก็จะทำการแก้ไขให้ โดยจะไม่ได้ทับไฟล์เดิม แต่จะแก้ไขไฟล์ให้เป็นชื่อใหม่กันให้ครับ
หมวด EmailRepair
ในโหมดนี้ ก็จะมีเพียงคำสั่งเดียวให้เลือกคือ เลือกซ่อมไฟล์เก็บอีเมล์ของโปรแกรม Outlook ที่มักจะมีปัญหาในกรณีที่มีจำนวนเมล์มากๆ เข้า ทำให้เปิดแล้วไม่มีเมล์ สามารถใช้คำสั่งในหมวดนี้เข้าไปแก้ไขความผิดปกติของไฟล์กันได้ครับ (ดังรูปที่ 5)
ลองของกับสถานการณ์การถูกฟอร์แมต
ตอนนี้มาดู สถานการณ์จริง เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น จะใช้คำสั่งกันอย่างไร สมมติว่าไดรฟ์ของผมถูกฟอร์แมตไปหมาดๆ แต่เหงื่อของผมตกเสียแล้ว (ตกมากด้วย) เพราะข้อมูลในไดรฟ์นั้นมีเพียบเลย ต้องลองดูตามสถานการณ์ของแต่ละคนครับ ถ้าไดรฟ์ที่ถูกฟอร์แมตไม่ใช่เป็นไดรฟ์ C ก็สามารถนำโปรแกรม EasyRecovery มาติดตั้งได้ แล้วเรียกจากคำสั่ง FormatRecovery แต่ถ้าหากเป็นไดรฟ์ C จะต้องเรียกใช้จากแผ่นบูตฉุกเฉินทำงานแทนครับ
ขั้นตอนการทำงานไม่ ว่าจะเรียกใช้จากตรงไหน จะเริ่มต้นจากโปรแกรมทำการสแกนหาโครงสร้างของไดรฟ์ที่ถูกฟอร์แมตนั้น การใช้เวลาในการสแกนหาจะช้าเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์ เมื่อทำการสแกนเสร็จแล้ว ก็จะแสดงรายการโฟลเดอร์ต่างๆ ออกมาให้ได้ทราบกัน มีข้อให้สังเกตนิดหนึ่งก็คือ ในกรณีของการถูกฟอร์แมต ชื่อของโฟลเดอร์จะไม่มีเหมือนเดิมครับ จะเป็น DIRXXX ไล่เรียงตามลำดับหมายเลขมา แต่ชื่อไฟล์ภายใต้โฟลเดอร์นั้น ยังมีอยู่เหมือนเดิม
ตอนนี้หาต้องการจะกู้ไฟล์ไหน โฟลเดอร์ไหนกลับคืนมา ก็ให้ติ๊กเลือกได้เลยครับ (ดังรูปที่ 6) แล้วก็คลิ้กที่ปุ่ม Next
ต่อไปกำหนดมากำหนดตำแหน่งไดรฟ์ ที่จะเอาไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่กู้คืน ไปจัดเก็บไว้ ในช่อง Recover To Local Drive แต่จะไม่ต้องเป็นไดรฟ์เดียวกับจะกู้ไฟล์ (ดังรูปที่ 7) แล้วก็คลิ้กที่ปุ่ม Next ทีนี้ก็ลองสักครู่เพื่อให้โปรแกรมกู้ไฟล์ตามที่ติ๊กเลือกกลับคืนมาให้
อย่างที่บอกกันมาก่อนหน้านี้ว่า ในเวอร์ชันนี้มีจุดเด่นอีกจุดหนึ่งก็คือ การสั่งเซฟผลการค้นหาโครงสร้างไฟล์ต่างๆ ที่ต้องการกู้คืน ที่เขาเรียกว่า ResumeRecovery ทีนี้เราจะมาลองใช้กันดู เช่น จากตัวอย่างผมได้ติ๊กเลือกกู้ไฟล์มาเพียง 2 ไฟล์เท่านั้น ทีนี้จะหยุดการทำงานไว้ก่อน แล้วค่อยกลับมากู้ไฟล์ในส่วนที่เหลือ
ตาม ปกติเมื่อเรากู้ไฟล์เสร็จแล้ว จะมีกรอบคำถาม ถามว่าต้องการจัดเก็บผลของการค้นหาไฟล์ที่มีปัญหาในครั้งนี้หรือไม่ เพื่อจะใช้กลับมาทำงานต่อในภายหลังได้เร็วกว่าเดิม (ดังรูปที่ 8) ให้คลิ้กที่ปุ่ม Yes เพื่อบอกว่าต้องการ
ต่อไปก็ไปกำหนดชื่อไฟล์สำหรับ ResumeRecovery (ดังรูปที่ 9)
เพียง เท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จพิธีการเซฟสภาพการสแกนของไดรฟ์ตามที่ต้องการ ทีนี้วิธีเรียกใช้ในภายหลัง หากคุณต้องการจะกลับมากู้ไฟล์อะไรต่อ ก็เพียงแต่เลือกจากคำสั่ง ResumeRecovery แล้วไปเรียกไฟล์ของ ResumeRecovery ตามที่เราได้กำหนดไว้ (ดังรูปที่ 9) เมื่อเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะได้จอภาพแสดงสภาพของไดรฟ์นั้นๆ ให้ได้เลือกไฟล์ที่จะทำการกู้คืนได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาสแกนกันใหม่เหมือนกับเวอร์ชันก่อนๆ
กู้ไฟล์ที่ถูกลบทิ้ง
มา ดูอีกสักตัวอย่างหนึ่ง คือการกู้ไฟล์ที่ถูกลบทิ้งไป ซึ่งสามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลบจากแผ่นดิสก์ ลบไฟล์จาก Dos Mode หรือลบไฟล์ทิ้งจาก Recycle Bin
ขั้นตอนการใช้งาน ก็เช่นเดิมครับ จะเรียกใช้จากโปรแกรม EasyRecovery ที่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง ก็เรียกจากคำสั่ง DeletedRecovery หรือเรียกจากแผ่นบูตฉุกเฉิน ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน
เริ่มต้นโปรแกรมก็จะทำการสแกน ไดรฟ์นั้น จากนั้นหน้าที่ของคุณก็คือเข้าไปดูว่าต้องการกู้ไฟล์ไหน โดยสังเกตว่า ไฟล์ที่ถูกลบก็จะมีตัวอักษรว่า D อยู่ในช่อง Condition ถ้าต้องการก็ติ๊กถูกเรียกไฟล์เหล่านั้นได้เลย (ดังรูปที่ 10) และถ้าต้องการความรวดเร็ว ประมาณว่าจำชื่อไฟล์ได้ ก็สามารถคลิ้กที่ปุ่ม Find เพื่อสั่งโปรแกรมค้นหาไฟล์มาแสดงให้เลือก จะทันใจกว่า
สุดท้าย ก็เหมือนเช่นเดิมครับ มาเลือกไดรฟ์ที่จะเก็บไฟล์ที่ถูกกู้คืนกลับมา แต่จะต้องเป็นคนละไดรฟ์กับไฟล์ที่จะถูกกู้อยู่ (ดังรูปที่ 11)
เอา ละครับ จากตัวอย่างที่แสดงวิธีใช้ให้ดู จะเห็นว่าขั้นตอนต่างๆ ไม่ยากเลยนะครับ ยังไงก็ลองหามาไว้ข้างๆ กายคงจะดีเหมือนกัน อ้อ...แล้วอย่าลืมสร้างแผ่นบูตฉุกเฉินของโปรแกรมเอาไว้ก่อนด้วยนะครับ
(ฟอแมทไปแล้วห้ามลงอะไรทับไปนะ เด๋วกู้ไม่ได้)
(........ช่วงนี้ถือว่ากำลังกู้ข้อมูลอยู่นะระหว่างที่มันสแกนอยู่ก็หาอะไรทำไปก่อนละกัน ซัก 1ชม. .........)
ผ่านไปไวเหมือนโกหก ข้อมูลที่หายไปนั้น จัดการกู้ข้อมูลกลับมาได้ทั้งหมด ข้อย้ำว่าทั้งหมด(เราเลือกได้ด้วยนะ ว่าจะกู้อันไหนมั่งไม่ต้องทั้งหมดก็ได้ เผื่อใครพื้นที่ในการกู้ข้อมูล น้อยหน่อย)
ด้วยเวลาเพียง 2-3 ชม.ในการกู้เท่านั้น (ฮาร์ดดิส250Gb..เวลาขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสนะจ๊ะ)
**หมายเหตุ สแกนรอบแรก คือตรวจว่าเราฟอร์แมทอะไรไปมั่ง
พอเสร็จ ก็ถึงขั้นตอนกู้คืน ก็จะมีให้เลือกเลยว่าเราจะกู้ข้อมูลอันไหน...ช่วงนี้เวลาไม่นานเท่าไหร่
http://download.ontrack.com/freedownloads/ERPROT_610.exe ตัวโปรแกรม
Serial Number: ER82RE-25A44H
CREDIT:http://www.arip.co.th/articles.php?id=405975
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น